จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว

ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว

แทรนวล เอเจนซี่ (Travel agency)
            ผู้เชี่ยวชาญทางอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ความหมาย ดังนี้ ธุรกิจขายปลีกที่ได้รับอนุญาตให้ขายผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวแทนผู้ประกอบธุรกิจ เช่น สายการบิน สายการเดินเรือ บริษัทรถไฟ หรือที่พักแรม

ความเป็นมา            ในอดีตผู้ที่ต้องการเดินทางท่องเที่ยวจะต้องติดต่อซื้อสินค้าทางการท่องเที่ยวโดยตรง ต่อมาจึงเกิดธุรกิจค้าปลีกที่อำนวยความสะดวกเกิดขึ้น โดย โทมัส คุก (Thomas Cook)ได้เปิดแทรเวล เอเจนซี่ในครั้งแรกใน พ.ศ 2388 ณ ประเทศอังกฤษ จึงทำให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าการท่องเที่ยวโดยไม่ต้องเดินทางไปซื้อโดยผู้ประกอบธุรกิจ แทรเวล เอเจนซี่จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางและท่องเที่ยวตั้งแต่นั้นมา

บทบาทหน้าที่ของแทรเวล เอเจนซี่
1.จัดหาราคาอัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว
2.ทำการจอง
3.รับชำระเงิน
4.ทำการส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง
5.ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆ
6.ช่วยดำเนินการในการซื้อบัตรโดยสาร
7.ออกบัตรโดยสารเครื่องบินและเอกสารอื่นๆ

ประโยชน์ของการใช้บริการแทรเวล เอเจนซี่
1.มีความชำนาญในการหาข้อมูลและวางแผนในการท่องเที่ยว
2.สามารถหาข้อเสนอหรือราคาที่ดีที่สุด
3.ช่วยประหยัดเวลาและความลำบาก
4.แก้ปัญหาได้เมื่อเกิดข้อผิดพลาดหรือปัญหา
5.รู้จักแหล่งประกอบธุรกิจมากกว่า
6.รู้จักแหล่งท่องเที่ยวดีกว่า

ประเภทของแทรเวล เอเจนซี่
1.แบบที่มาแต่เดิม
2.แบบที่ขายทางอินเตอร์เน็ต
3.แบบที่ชำนาญเฉพาะทาง
4.แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก

บริษัททัวร์ หมายถึง ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่จัดทำโปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายโดยขายให้กับลูกค้าผ่าน แทรเวล เอเจนซี่
ทัวร์ หมายถึง รูปแบบการท่องเที่ยวที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า

ประโยชน์ของการใช้บริษัททัวร์
1.ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
2.ประหยัดค่าใช้จ่าย
3.ได้ความรู้
4.ได้เพื่อนใหม่
5.ได้ความสบายใจและรู้สึกปลอดภัย
6.ไม่มีทางเลือกอื่น

ประเภทของทัวร์
1.ทัวร์แบบอิสระ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางแบบอิสระ
2.ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว โปรแกรมเหมาจ่ายที่ได้รับการบริการจากตัวแทนของบริษัท
3.ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว โปรแกรมเหมาจ่ายที่รวมการบริการของมัคคุเทศก์ตลอดเส้นทาง

ที่พักแรม

 ที่พักแรม
ที่พักแรมมีบทบาทโดยตรงในการสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยว เนื่องจากนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางที่ห่างไกล และจำเป็นต้องค้างแรมพักผ่อนระหว่างการเดินทาง

ความเป็นมา            โรงแรมเป็นประเภทธุรกิจที่พักแรมที่สำคัญในปัจจุบัน คำเรียกที่พักว่า hotel นี้เดิมมาจากภาษาฝรั่งเศสและมาปรากฏใช้เรียกธุรกิจประกอบการที่พักโรงแรมในอังกฤษและอเมริกา ศตวรรษที่ 18 รูปแบบบริการในโรงแรมได้รับความนิยมมาแต่อดีตจนกลายเป็นลักษณะเฉพาะและเป็นที่รู้จักทั่วไปของนักท่องเที่ยว

ธุรกิจที่พักแรมในประเทศไทย
กิจการโฮเต็ลหรือโรงแรมที่สำคัญในอดีตได้แก่
-โฮเต็ลหัวหิน
-โฮเต็ลวังพญาไท
-โรงแรมรัตนะโกสินทร์

ปัจจัยพื้นฐานในการบริการที่พักโรงแรม-ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน
-ความสะอาดและสุขอนามัยในสถานที่พัก อาหาร-เครื่องดื่ม
-ความสะดวกสบายจากการบริการ
-ความเป็นส่วนตัว
-บรรยากาศการตกแต่งที่สวยงาม
-ภาพลักษณ์ของกิจการและอื่นๆ

ประเภทที่พักแรม
1.โรงแรม
1.1เกณฑ์การจำแนกประเภทโรงแรม
-ด้านที่ตั้ง
-ด้านขนาด
-ด้านจุดประสงค์ของผู้มาพัก
-ด้านราคา
-ด้านระดับการบริการ
-ด้านการจัดระดับมาตรฐานโดยใช้สัญญาลักษณ์
-ด้านความเป็นเจ้าของและรูปแบบการบริหาร
โรงแรมอิสระ เป็นโรงแรมที่เจ้าจองกิจการดำเนินการเอง นโยบายและคิดวิธีการกำหนดขึ้นเองอย่างอิสระ
โรงแรมจัดการแบบกลุ่ม โรมแรมที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการแบบกลุ่ม

2.ที่พักนักท่องเที่ยว-บ้านพักเยาวชนหรือโฮเทล
-ที่พักพร้อมอาหารเช้าราคาประหยัด
-ที่พักริมทางหลวงได้แก่โมเต็ล
-ที่พักแบบจัดสรรเวลาแบบไทม์แชริ่ง
-เกสต์เฮาส์
-อาคารชุดบริการที่พักระยะยาวหรือเซอร์วิสอพาร์ทเม้นต์
-ที่พักกลางแจ้ง
-โฮมสเตย์

แผนกงานในโรงแรม
-แผนกงานส่วนหน้า
-แผนกงานแม่บ้าน
-แผนกอาหารและเครื่องดื่ม
-แผนกขายและการตลาด
-แผนกบัญชีและการเงิน
-แผนกทรัพยากรมนุษย์

รูปแบบการจัดห้องมาตรฐานโรงแรมทั่วไป
-Single ห้องพักแบบนอนคนเดียว
-Twin ห้องพักแบบเตียงคู่แฝด
-Double ห้องพักแบบเตียงคูขนาดใหญ่เตียงเดียว
-Suit ห้องชุดที่ภายในประกอบด้วยห้อง 2 ห้องขึ้นไปกั้นเป็นสัดส่วนแบ่งเป็นห้องนอนและห้องนั่งเล่น

การคมนาคมขนส่ง


พัฒนาการขนส่งทางบก
            เริ่มในสมัย 200 ปีก่อน คริสตกาล หรือยุคบาบิลอน ซึ่งใช้คนลากรถสองล้อไปบนถนน ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นสัตว์ เช่น วัว ม้า ลา มาช่วยลากรถสองล้อในยุคอียิปต์และกรีก ในศตวรราที่ 18 ได้มีการประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ และได้ผลิตรถไฟไอน้ำในประเทศอังกฤษขบวนแรกขึ้นในปี ค.ศ 1825 ต่อมาเนื่องจากความนิยมรถไฟน้อยลงจึงได้มีการประดิษฐ์คิดค้น รถยนต์เป็นพาหนะสำคัญแทนที่รถไฟในปี ค.ศ 1920

พัฒนาการขนส่งทางน้ำ            การขนส่งทางน้ำเป็นการขนส่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก จนกระทั่งใน พ.ศ 1819 มีเรือที่สามารถเดินข้ามในมหาสมุทรครั้งแรกได้คือ เรือกลไฟ เป็นเรือที่เล่นระหว่างเมือง savanna รัฐจอร์เจียกับเมือง Liverpool ใช้เวลา 29 วัน แต่เป็นเรือขนส่งหีบห่อพัสดุภัณฑ์ทางไปรษณีย์เป็นหลักมีผู้โดยสารไม่มากนัก

พัฒนาการขนส่งทางอากาศ
            เที่ยวบินให้บริการขนส่งผู้โดยสารให้บริการครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการบริการเที่ยวบินโดยสารประจำทาง โดยบินระหว่าง Boston และ New york ใน ค.ศ 1935 ในปี พ.ศ. 2544 รัฐบาลเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในธุรกิจการบินภายในประเทศ เช่นแอร์อันดามัน ภูเก็ตแอร์ และโอเรียนไทยในสงครามโลกครั้งที่ 2 เครื่องบินได้ถูกดัดแปลงให้เป็นพาหนะของทหารเร่งการพัฒนาขีดความสามารถของเครื่องยนต์ไห้มีขนาดใหญ่ขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ละประเทศได้เร่งแข่งขันกันที่จะนำเครื่องบินที่จะได้รับการปรับปรุงและพัฒนาแล้วมาใช้ในเชิงพาณิชย์

ประเภทของธุรกิจการคมนาคมขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว
1.ธุรกิจการขนส่งทางบก
-การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถไฟ
-การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถยนต์ส่วนบุคคล
-การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถเช่า
-กิจการเช่ารถรถโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว
-รถโดยสารประจำทาง การบริการจุดจุดหนึ่งไปอีกจุดจุดหนึ่งตามตาราง
-รถโดยสารไม่ประจำทางหรือรถเช่าเหมา เดินทางสะดวกสบายและประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่าย
2.ธุรกิจการขนส่งทางน้ำ
การเดินเรือท่องเที่ยวทางน้ำแบ่งออกเป็นหลายประเภทดังนี้
-เรือเดินทะเล เป็นเรือคมนาคมจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง
-เรือสำราญ คล้ายโรงแรมลอยน้ำมีความสะดวกสบายครบครัน
-เรือข้ามฟาก เป็นเรือสำหรับการเดินทางระยะสั้น ใช้บรรทุกทั้ง ผูโดยสาร รถยนต์ รถโดยสาร หรือบางครั้งรถไฟ
-เรือใบและเรือยอร์ก ในอดีตจะมีเพียงผูมีฐานะร่ำรวยเท่านั้นที่สามารถซื้อได้ ปัจจุบันผู้ที่มีฐานะปานกลางสามารถเช่าเรือสำหรับท่องเที่ยวได้
-เรือบรรทุกสินค้า นักท่องเที่ยวบางกลุ่มชอบเดินทางกับเรือบรรทุกสินค้าที่ไม่เร่งรีบและจอดตามเมืองต่างๆ ทั่วโลก โดยเรือบรรทุกสินค้าสามารถรับผู้โดยสารได้ 12 คนโดยมีห้องพักสะดวกสบายแต่มีราคาถูกกว่าเรือสำราญ
3.ธุรกิจการขนส่งทางอากาศ
            สงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อให้เกิดผลดีในระยะยาวต่อการเติบโตของธุรกิจการบินพาณิชย์
การเดินทางท่องเที่ยวแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่คือ
            3.1การบินลักษณะเที่ยวบินประจำภายในประเทศ เป็นการบินระหว่างเมืองต่อเมืองมีตารางบินที่แน่นอน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยคือ
            -เที่ยวบินประจำภายในประเทศ
            -เที่ยวบินประจำระหว่างประเทศ
3.2การบินลักษณะเที่ยวบินไม่ประจำ เป็นการบินที่จัดเสริมในตาราง
3.3การบินลักษณะเช่าเหมาลำ เป็นการบินที่ให้บริการกลุ่มสมาชิกหรือองค์การ หรือกลุ่มนักท่องเที่ยว รับ ส่งผู้โดยสารเฉพาะกลุ่มเดิมได้เท่านั้น ราคาค่าโดยสารจะถูกกว่าปกติ

องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ธุรกิจที่จัดว่าเป็นองค์ประกอบหลัก และธุรกิจที่จัดว่าเป็นองค์ประกอบเสริมดังที่ได้กล่าวไปในบทที่ 1 แล้วในบทนี้จะศึกษาเรื่องขององค์ประกอบหลักประเภทแรกคือ แหล่งท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยว
คำจำกัดความ 3 คำที่จำเป็นในการศึกษาแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่

1.ทรัพยากรการท่องเที่ยว
2.จุดหมายปลายทาง
3.สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว

จากความหมายของทั้ง 3 คำข้างต้น อาจสรุปความหมายของแหล่งท่องเที่ยวได้ว่า คือ สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเที่ยวหรือประกอบกิจกรรมต่างๆเพื่อสนองตอบต่อจุดประสงค์ด้านความพึงพอใจ หรือด้านนันทนาการ
ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว จัดแบ่งได้ด้วยลักษณะเฉพาะต่างๆได้แก่
-ขอบเขต อาจแบ่งจุดมุ่งหมายหลักได้ 2 แบบ คือ จุดมุ่งหมายหลักกับจุดมุ่งหมายรอ
-ความเป็นเจ้าของ แหล่งท่องเที่ยวทั้งธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น
-ความคงทนถาวร การแบ่งอายุของแหล่งท่องเที่ยว-ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งจะสนองความต้องการ หรือจุดประสงค์ของนักท่องเที่ยวต่างกัน
การท่องเที่ยวในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่
1.แหล่งท่องเที่ยวเป็นธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งด้านชีวภาพและกายภาพ
2.แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น สถานที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างและอายุ
3.แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่พัฒนามาจากวัฒนธรรมประเพณี การดำรงชีวิตของผู้คน

แหล่งท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย
-ภาคกลาง ประกอบด้วย 21จังหวัด และเขตการปกครองพิเศษ
-ภาคเหนือ ประกอบด้วย 17 จังหวัด
-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 19 จังหวัด
-ภาคตะวันออก ประกอบด้วย 4 จังหวัด
-ภาคใต้ ประกอบด้วย 14 จังหวัด

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางนักท่องเที่ยว

 

แรงจูงใจ
     แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวแตกต่างไปจากแรงจูงใจในวิชาจิตวิทยา  ซึ่งเป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพของบุคคลแรงจูงใจทางด้านการท่องเที่ยว หรือแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวเป็นแนวคิดที่เป็นแบบลูกผสมระหว่างแนวคิดทางจิตวิทยาผสมกับแนวคิดทางด้านสังคมวิทยา  แรงจูงใจจึงหมายถึงเครือข่ายทั้งหมดของพลังทางวัฒนธรรมและพลังทางชีววิทยา  ซึ่งเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมทางการท่องเที่ยว
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
1.ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น
กล่าวว่ามนุษย์เป็นสัตว์ทีมีความต้องการและมนุษย์จะแสดงพฤติกรรมต่างๆ  เพื่อที่จะสนองความต้องการและความต้องการจำเป็นต่างๆ  ความต้องการของคนเราจะไม่มีที่สิ้นสุดเมื่อความต้องการอย่างหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว  ความต้องการอีกระดับก็จะเกิดขึ้นมาแทนที่  Maslow ได้เสนอลำดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ทั้งหลายรวม  5  ขั้น
ความต้องการของมนุษย์มีทั้งหมด 5 ขั้นดังนี้
1.ความต้องการความสำเร็จแห่งตน
2.ความต้องการที่จะมีเกียรติยศชื่อเสียง
3.ความต้องการทางด้านสังคม
4.ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต
5.ความต้องการทางด้านสรีรวิทยา

2. ทฤษฎีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง
ผู้นำเสนอคือ  Philip  Pearce โดยประยุกต์มาจากทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น  แต่แตกต่างตรงที่ในลำดับขั้นแห่งความต้องการของนักท่องเที่ยวในขั้นที่ 1 หรือความต้องการทางสรีรวิทยา ถึงขั้นที่ 4 หรือความต้องการทางด้านเกียรติยศชื่อเสียงนั้น  ในแต่ละขั้นเกิดขึ้นจากบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง ส่วนหนึ่งและมีอีกส่วนหนึ่งเป็นการชักนำหรือกำหนดโดยผู้อื่น  ยกเว้นความต้องการในขั้นสูงสุดหรือความต้องการความสำเร็จแห่งตนหรือความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจสูงสุด  เป็นขั้นที่เกิดจากความต้องการของตัวบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง
3.แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น
Crompton  ได้ทำการวิจัย เพื่อศึกษาถึงแรงจูงใจที่ผลักดันให้คนเรามีการเดินทางท่องเที่ยว เขาได้ทำวิจัยโดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวที่เป็นคนชั้นกลาง  39 คน สรุปผลการวิจัยของเขาออกมาเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เกิดการเดินทางที่เขาเรียกว่า  วาระซ่อนเร้น เนื้อหาสาระบางส่วนมีเนื้อหาคล้ายกับทฤษฎีแรงจูงใจของ Maslow
แรงจูงใจวาระซ่อนเร้นมี  7 ประเภท
1.            การหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมจำเจ
2.            การสำรวจและการประเมินตัวเอง
3.            การพักผ่อน
4.            ความต้องการเกียรติภูมิ
5.            ความต้องการที่จะถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม
6.            กระชับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
7.            การเสริมสร้างการปะทะสังสรรค์ทางสังคม


4. แรงจูงใจทางการท่องเที่ยวในทัศนะของ  Swarbrooke
จำแนกแรงจูงใจที่ทำให้คนเดินทางออกเป็น 6 ชนิดดังนี้
1.            แรงจูงใจทางด้านสรีระหรือทางกายภาพ
2.            แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
3.            การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง
4.            การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้เพื่อสถานภาพ
5.            แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง
6.            แรงจูงใจส่วนบุคคล
        โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
หมายถึง  องค์ประกอบพื้นฐานในการรองรับการท่องเที่ยวทั้งระบบ  ถือเป็นส่วนสนับสนุนให้การท่องเที่ยวสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี  และทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
โครงสร้างพื้นฐานหลักๆในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่
1.            ระบบไฟฟ้า  จะต้องมีใช้อย่างพอเพียง  ทั่วถึง และใช้การได้ดีไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อเกิดอันตราย
2.            ระบบประปา  ควรมีความสะอาด ถูกหลักอนามัย  มีปริมาณเพียงพอ
3.            ระบบสื่อสารโทรคมนาคม  รวมถึงโทรศัพท์มีสายและไร้สาย  ไปรษณีย์ โทรเลข
โทรสาร และไปรษณีย์อีเลกโทรนิกส์  ต้องมีความรวดเร็วและสะดวก
4.            ระบบการขนส่ง   ประกอบไปด้วย
·       ระบบการเดินทางทางอากาศ
·       ระบบการเดินทางทางบก
·       ระบบการเดินทางทางน้ำ
5.            ระบบสาธารณสุข   ควรมีสาธารณสุขที่ทันสมัย  สะดวก  รวดเร็ว
ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค
1.            ปัจจัยทางภูมิศาสตร์    เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติได้แก่
1.2    ลักษณะภูมิประเทศ  ที่ปรากฏอยู่ตามส่วนต่างๆของโลก จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก  การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกมีได้  2 ลักษณะ
·       การเปลี่ยนแปลงจากภายในของเปลือกโลก เช่น ภูเขาไฟระเบิด
·       การเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวโลก เช่น  เนินทราย
                1.2 ลักษณะภูมิอากาศ   พื้นที่ที่ตั้งอยู่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาตามเส้นแลตติจูด  อากาศแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกัน
ปัจจัยทางวัฒนธรรม
หมายถึง  วิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคม   วัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขและกาลเวลาเมื่อมีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่  วิธีใหม่ที่ใช้แก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของสังคมได้ดีกว่า

วิวัฒนาการของการท่องเที่ยว

ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยว

การศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ของการท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจเกี่ยวกับธุรกิจทางด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากมีบทเรียนจากประวัติศาสตร์มากมายที่จะต้องจดจำและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการท่องเที่ยวในปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตการท่องเที่ยวในอดีตเมื่อ 3 พันปีก่อน ก็คือ ในปัจจุบันมีการจัดให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆแก่นักเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของที่พัก การให้บริการด้านอาหาร มัคคุเทศก์ และร้านขายของที่ระลึก เช่นเดียวกันกับในอดีต จะต่างกันก็เพียงแต่มาตรฐานและความสะดวกสบาย ซึ่งในปัจจุบันมีความทันสมัยมากกว่าแต่ก่อน 
วิวัฒนาการของการท่องเที่ยว                      
  - อาณาจักร บาบิโลน (
Babylonian Kingdom) และ  อาณาจักรอิยิปต์    ( Egyptian Kingdom)
          - การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุ ( Historic Antiquities)  2600 ปีมาแล้วในอาณาจักรบาบิโลน
          - มีการจัดงานเทศกาลทางด้านศาสนา มีการพบหลักฐานจากข้อความที่นักเดินทางเขียนไว้ที่ผนัง หรือสิ่งก่อสร้าง อื่นๆ
          นักเดินทางที่มีความสำคัญ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นนักเขียนเกี่ยวกับการเดินทางคนแรกของโลกก็ว่าได้ มีชื่อว่า    “HERODOTUS”
          - มัคคุเทศก์ในสมัยก่อนคริสตกาล แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ Periegetai(คอยต้อนฝูงนักท่องเที่ยวให้เข้ากลุ่ม) และ Exegetai(ให้ข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินค่าตอบแทน)

จักรวรรดิกรีกและจักรวรรดิโรมัน
ลักษณะการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวสมัยกรีก
   - เป็นการปกครองแบบนครรัฐ (City State) ทำให้ไม่มีผู้นำสั่งการให้สร้างถนน จึงนิยมเดินทางทางเรือ
   - สถานที่ที่เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้า
   - เดินทางเพื่อแสวงหาความรู้ เนื่องจากสมัยกรีกนี้มีนักปราชญ์เป็นจำนวนมาก อาทิ อริสโตเติล พลาโต โซเครติส
   - เพื่อการกีฬา โดนเฉพาะในกรุงเอเธนส์
   - เมื่อมีการเดินทาง ทำให้เกิดการสร้างที่พักแรมระหว่างทาง เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเพียงแค่ห้องนอนแคบๆ เท่านั้น
ยุคกลาง หรือยุคมืด ( Middle Age or Dark Age)
  -เป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ ศาสนาเข้ามามีบทบาทในการกำหนดการดำเนินชีวิตของผู้คน
  -วันหยุด (Holy Days) เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
  -คนชั้นกลางและชั้นสูงนิยมเดินทางเพื่อแสวงบุญ ในระยะทางไกลในเมืองต่างๆ ตามหลักฐานที่ปรากฏเป็น  นิทานเรื่อง Canterbury’s tales
  -การเฟื่องฟูของอาชีพมัคคุเทศก์
ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ( Renaissance)
ลักษณะสำคัญของการท่องเที่ยวในยุคนี้คือ
  - เกิดการพัฒนาทางด้านการค้า
  - ผู้คนเริ่มใฝ่รู้เกี่ยวกับเรื่องของยุโรปสมัยก่อน โดยเฉพาะชาวอังกฤษที่ร่ำรวย นิยมส่งบุตรชายออกเดินทางไป ต่างประเทศพร้อมกับผู้สอนประจำตัว (Travelling Tutors) เป็นระยะเวลา 3 ปี เรียกว่าแกรนด์ทัวร์ (Grand Tour)  โดยมีจุดมุ่งหมายที่ประเทศ อิตาลี
  - อาจเรียกแกรนด์ทัวร์ว่า เป็นการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาก็ได้

สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18-19
  - สังคมเริ่มเปลี่ยนจากเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม เกิดการล่าอาณานิคมขึ้น
  - ที่พักแรมได้รับการพัฒนามาตามลำดับ กลายมาเป็นโรงแรม แทนที่ inns ต่างๆ
  - การโยกย้ายถิ่นฐาน ไปยังดินแดนใหม่ๆ นอกยุโรป อาทิ ไป อเมริกา
  - มีการพัฒนาประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ กับเรือกลไฟแบบกังหันข้างผสมใบ ทำให้เกิดการเดินทางได้เร็วขึ้น
  - มีการพัฒนากิจการรถไฟ และในปี ค.ศ. 1841 โทมัส คุก ( Thomas Cook) ได้จัดนำเที่ยวทางรถไฟ

วิวัฒนาการการท่องเที่ยวของไทย
สมัยสุโขทัย
-การเดินทางเป็นไปอย่างอิสรเสรี โดยส่วนมากเป็นไปเพื่อการค้าขาย และทางศาสนา
ส่วนมากเป็นการเดินทางภายในประเทศเท่านั้น
สมัยอยุธยา
เนื่องจากเป็นอาณาจักรใหญ่ และระบบสังคมเป็นแบบ ศักดินา ผู้คนไม่ค่อยมีอิสระในการเดินทางมากนัก นอกจากไปเพื่อการค้าเล็กๆ น้อย ส่วนด้านการเดินทางเพื่อการพักผ่อน ไม่ค่อยปรากฏ เพราะประชาชนส่วนมามีเวลาว่างไม่มากนัก มักจะอยู่กับบ้านมากกว่า
-มีปรับปรุงเส้นทางทางน้ำเพื่อการคมนาคม ตลอดจนเส้นทางทางบก เพื่อความสะดวกสบายทางด้านการค้าเป็นหลัก และเพื่อการเดินทาง
ผลจากการเข้ามาของชาวต่างชาติในสมัยอยุธยา
ทำให้เกิดความเป็นนานาชาติในพระนครศรีอยุธยามากขึ้น ทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ ทั้งของตะวันตก และของไทย ที่น่าสนใจคือ มีบันทึกการเดินทางของชาวตะวันตกที่เขียนเอาไว้เกี่ยวกับ ชีวิตความเป็นอยู่ การเดินทาง สถานที่ต่างๆ ในอาณาจักรอยุธยา แล้วนำกลับไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่ตะวันตก ก่อให้เกิดการเดินทางเข้ามายังเอเชีย และอยุธยา มากขึ้น ในฐานะที่อยุธยาเป็นดินแดนของสินค้าของป่า เครื่องเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่สามารถสร้างกำไรให้มหาศาลแก่พ่อค้าชาวตะวันตก กล่าวได้ว่าอาณาจักรอยุธยา รุ่งเรืองมากทั้งทางด้านศิลปวิทยากร วัฒนธรรม ประเพณี บ้านเมืองร่ำรวย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์
เป็นความพยายามของพระมหากษัตริย์ทั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ที่พยายามจะทำฟื้นฟูความเป็นอยุธยาขึ้นมาใหม่อีกครั้ง จะพบว่า โครงสร้างของบ้านเมือง ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ จะคล้ายกับในสมัยอยุธยา
รัฐบาลไทยขณะนั้นเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยว จึงได้มีการจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(อสท.) จัดตั้งในปี พ.ศ. 2503 พร้อมกันนั้นก็มีการจัดตั้งบริษัทการบินไทย เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวของประเทศไทยอีกด้วย และได้เปลี่ยนมาเป็น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2522